โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิได้ใช้หลักสูตรจินตคณิต Brain-balancing ของสถาบันจินตคณิตล้านนา มาตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเป็นปีเริ่มก่อตั้งโรงเรียน และ เปิดการเรียนการสอน โดยเริ่มแรกได้ใช้หลักสูตรจินตคณิตในทุกระดับ อนุบาล ประถมและมัธยมตอนต้น และได้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมกับการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยจัดการสอนในระดับ อนุบาล 3 และประถมศึกษา ทั้งหมด และได้รับคัดเลือกจากสถาบันจินตคณิตล้านนาในการเป็นโรงเรียนต้นแบบจินตคณิตในจังวหัดกระบี่ ในเดือนพฤษาคม  2555

พัฒนาการการใช้หลักสูตรจินตคณิต

ในปี 2553 เปิดสอนหลักสูตร brain-balancing ครั้งแรก

ในปี 2554 คณะครูและนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันครั้งแรก คณะครูและนักเรียนโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิจำนวน 20 คน เข้าร่วมการแข่งขันจินตคณิตเป็นครั้งแรก ในรายการจินตคณิตชิงแชมป์ภาคใต้ครั้งที่ 3 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้

อ.ดุรรี ยะก๊บ อาจารย์หัวหน้ากลุ่มสาระเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในรุ่นผู้สอนมือใหม่

อ.รุสลัน หมาดสตูล อาจารย์หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสี่ ในรุ่นผู้สอนมือใหม่

ด.ญ. นูรแอนนา คนเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

ในปี 2555 คณะครูและนักเรียนคว้า 1 ถ้วย 13 เหรียญรางวัล คณะครูและนักเรียนโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิจำนวน 45คน เข้าร่วมการแข่งขันจินตคณิตเป็นครั้งที่สอง ในรายการจินตคณิตชิงแชมป์ภาคใต้ครั้งที่ 4 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,700 คน ได้รับรางวัลดังต่อไปนี้

อ.ซุรายดา สะนอยานยา อาจารย์หัวหน้าฝ่ายบุคคลากรและอาจารย์ประจำชั้น ป. 2  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ในรุ่นผู้สอนมือใหม่

ด.ญ. นูรแอนนา คนเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้รับรางวัลเหรียญเงิน

ด.ญ.ศศินา  มุคุระ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4    ได้รับรางวัลเหรียญเงิน

ด.ช. คฑาทอง  นายาว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับรางวัลเหรียญเงิน

ด.ญ. ปุญนารถ  ตู้กังร่าเหม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

ด.ช. ไฟซอล  โสหัส นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

ด.ช. กันตินันท์   สิงโต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

ในเดือนพฤษภาคม 2555 โรงเรียนต้นแบบจินตคณิต โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากสถาบันจินตคณิตล้านนา ในการเป็นโรงเรียนต้นแบบจินตคณิตบูรณาการอิสลาม เริ่มมีโรงเรียนจำนวน 7 แห่งใช้หลักสูตรจินตคณิตในโรงเรียนจังหวัดกระบี่ พังงา

1)       โรงเรียนอนุบาลมุสลิมกระบี่ ต.บ้านกลาง อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

2)       โรงเรียนดวงแก้วพิทยา  ต.เหนือคลอง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่

3)       โรงเรียนษะกอฟะฮวิทยพัฒน์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่

4)       โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ  ต.แหลมสัก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

5)       โรงเรียนอนุบาลวังทอง ต.คลองยาง อ. เกาะลันตา จ.กระบี่

6)       โรงเรียนศาสนูปถัมป์มูลนิธิ ต.คลองท่อมใต้ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

7)       โรงเรียนศรัทธาธรรม ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา

รู้จักและทำความเข้าใจ หลักสูตรจินตคณิต Brain-balancing
(จากปริญญานิพนธ์ของ คัมภีร์ แอศิริ เรื่อง การบริหารหลักสูตรจินตคณิตในระดับชั้นประถมศึกษา อ่านรายละเอียดฉบับเต็มได้ที่นี่ )

1. จินตคณิตและลูกคิดญี่ปุ่น
ลูกคิดเป็นเครื่องคิดเลขชนิดแรกของโลก เริ่มแรกเรียกว่า ลูกคิดจีน มีลักษณะเป็นระบบ 5 : 2 เม็ด สามารถคำนวณได้ทั้ง บวก ลบ คูณ หาร ต่อมาพัฒนาเป็นระบบ 4:1 จำนวน 16 เม็ด เพื่อการคำนวณได้รวดเร็ว และทันสมัยยิ่งขึ้น เชื่อกันว่าลูกคิดคือ ต้นแบบของเครื่องคิดเลขที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ประเทศจีน เป็นชาติแรกที่มีการเรียนการสอน และผลิตลูกคิดจำหน่ายไปทั่วโลก ซึ่งมีศัพท์ใน Dictionary ภาษาอังกฤษ เรียกลูกคิดว่า abacus ลูกคิดญี่ปุ่น พัฒนามาจากลูกคิดจีน ที่เข้าสู่ญี่ปุ่นในราวศตวรรษที่ 15 ลักษณะของลูกคิดมีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก คำณวนได้รวดเร็ว มีลูกคิด 5 เม็ด เหนือเส้นแบ่ง 1 เม็ด ใต้เส้นแบ่ง 4 เมด็ การใช้ลูกคิดญี่ปุ่นในการคำณวนพบว่า สามารถช่วยให้นักเรียนคิดเลขได้เร็วขึ้น มีสมาธิในการเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมดีขึ้น (วิสาเพ็ญ เรืองศรี.ออนไลน์)

ประโยชน์ของการใช้ลูกคิด
จากการศึกษาการใช้ลูกคิดญี่ปุ่นพบว่า เด็กในช่วงอายุระหว่าง 7-12 ปี จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ผลที่ได้รับคือ
1. มีความสามารถในการคิดเลขเร็วขึ้น
2. มีสมาธิในการเรียน
3. มีความจำดีขึ้น
4. มีการวิเคราะห์ลำดับเหตุผล

ลูกคิด สามารถใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนและตั้งอยู่บนพื้นฐานการคำนวณเลยฐานสิบ นักเรียนสามารถเข้าใจหลักของตัวเลข ค่าประจำตำแหน่งและเลขฐานสิบได้ง่าย เข้าใจกระบวนการคำนวณอย่างเป็นระบบ มีการจัดลำดับความคิด และถ้าได้ฝึกฝนอย่างต่อสม่ำเสมอจะนำไปสู่การคิดคำนวณในใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำและจากการประเมินผลของโรงเรียนบ้านนาดินดำ  อำเภอเมือง จังหวัดเลย พบว่า ลูกคิดทำให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ มีสมาธิในการเรียนดีขึ้น (ชมจันทร์ ธารา. ออนไลน์) ในปี

พ.ศ. 2538 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้มอบทุนการศึกษา วิชาจินตคณิต ซึ่งใช้ลูกคิดเป็นสื่อแก่รัฐบาลไทย โดยมอบให้กระทรวงศึกษาธิการจัดส่ง เจ้าหน้าที่ไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น คณะแรก 8 ท่าน ชาวญี่ปุ่นเรียกลูกคิดว่า โซโรบัน เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า sorobun ลกู คิดญี่ปุ่น

ในปี 2541 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการได้วิจัยทดลองโดยอบรมครูเกี่ยวกับการนำลูกคิดมาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้วิทยากรจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถนำไปจัดกิจกรรมฝึกทักษะ การคิดคำนวณโดยใช้ลูกคิดในลักษณะของชมรมลูกคิดในโรงเรียนทดลอง ในสังกัดต่างๆ รวมทั้งในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ จ านวน 13 แห่ง ในขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ก็ได้ดำเนินการทดลองให้เอกชนจัดค่ายจินตคณิต ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา 2 ค่ายจำนวน 80 คน การดำเนินการดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถกระตุ้นให้นักเรียนทั้งที่ร่วมกิจกรรมในชมรมลูกคิดและนักเรียนที่เข้าค่ายจินตคณิตสนใจกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น มีทักษะในการคิดคำณวนและบวกลบเลขสอง หลักได้อย่างรวมเร็ว การนำหลักสูตรจินตคณิตจึงได้รับความนิยมจากโรงเรียนที่มีความสนใจนำนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ส่งเสริมให้เด็กอยากเรียนรู้เข้าไปบรรจุในหลักสูตรของสถานศึกษา (สสวท. ออนไลน์)

หลักสูตรจินตคณิต เป็นหลักสูตรที่พัฒนาจินตภาพของมนุษย์โดยใช้คุณสมบัติเด่นของลูกคิดเป็นเครื่องมือและอาศัยพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้ของเด็กสร้างภาพในสมองเพื่อฝึกสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้เกิดดุลยภาพ หลักสูตรจินตคณิตจึงเป็นหลักสูตรพิเศษโดยใช้ตัวเลข และลูกคิดเป็นสื่อในการสอน ซึ่งเมื่อมีการฝึกฝนเป็นประจ าอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดการทำงานประสานกันของสมองทงั้สองฝั่ง ซึ่งเด็กจะได้ฝึกฝนให้รู้จกัสร้างภาพลูกคิดขึ้น ในสมองโดยใช้คุณสมบัติเด่นของลูกคิดเป็นเครื่องมือและอาศัยพฤติกรรมที่ต้องเรียนรู้ของเด็กสร้างภาพในสมองเพื่อฝึกสมองซีกซ้าย และซีกขวาให้เกิดดุลยภาพและคิดคำนวณเลขโดยการใช้ลูกคิดจำลองที่ถูกสร้างขึ้นในสมองแทนการค านวณโดยใช้ตัวเลข ท าให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ เกิดพลังแห่งการจดจ า สมาธิต่อเนื่อง และสามารถน าไปพัฒนาใช้กับวิชาต่าง ๆ อย่างได้ผล (สุนทร ลิ้มตระกูล และ สุทธิรัก นิ่มเนียม.ออนไลน์.)

ซึ่งเมื่อเด็กได้รับการฝึกฝนจินตคณิตเป็นเวลานาน จะช่วยบริหารสมองส่วนขวา ซึ่งควบคุมด้านจิตใจ อารมณ์ มากกว่าสมองซีกซ้าย ที่ทำงานด้านการวิเคราะห์ หรือการคำนวณขั้นพื้นฐาน การบริหารสมองซีกขวาจะเป็นประโยชน์ในสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของคณิตศาสตร์ แต่จะช่วยให้สามารถเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ได้เร็วขึ้น ส่งผลให้เรียนวิชาอื่นๆ ได้ผลดีขึ้นด้วยจินตคณิต จึงเป็นวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนาการทำงานของสมอง ซึ่งสมองของคนเราแบ่งเป็น 2 ซีก โดยซีกซ้ายมีหน้าที่ จ าเป็นขั้นเป็นตอนเกือบทุกวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์ซีกขวาท าหน้าที่ควบคุมอารมณ์ สมาธิ สติ จินตนาการ ถ้าสมองซีกใดซีก หนึ่งท างานมากเกินไป หรือไม่สมดุลกัน พัฒนาการของอัจฉริยภาพที่ดีก็ไม่เกิด แต่ถ้าสมอง 2 ซีก
ท างานสมดุลกัน จะท าให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นอัจฉริยภาพ หรือความเป็นเลิศ (ชาญชัย บุญเฮ้า. 2547: 1-2)

 

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s