คอลัมน์ โรงเรียนนอกคอก

โดย อ.ซากี เริงสมุทร์

Saki391@gmail.com

ขณะนี้ถือเป็นยุคเบ่งบานของโรงเรียนเอกชน คนรุ่นผมหลายคน ทั้งที่เป็นคนทำงานเพื่อสังคม นักการศึกษา นักการศาสนา ลูกหลานบาบอ และนักธุรกิจเพื่อสังคม ต่างพร้อมใจกันเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ บ้างก็ขยายสาขา นับจากคนรอบกายรวมๆแล้วเปิดใหม่ไม่ต่ำกว่า 20  โรงเรียน ในขณะที่ โรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่ต่างๆกลับเดินไปสู่ขั้นวิกฤติ จากการแถลงนโยบายของ รมต.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ว่าจะปิดโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศอย่างถาวรจำนวน 10,000 แห่ง โดยย้ายนักเรียนให้ไปเรียนโรงเรียนใกล้เคียงแทน

ผมมองว่าช่วงนี้แหละที่จะเป็นจุดเปลี่ยนการศึกษาของไทยที่สำคัญ อาจมากกว่าช่วงปฏิรูปการศึกษาในยุคก่อนหน้านี้อีกนะครับ นับได้ว่ายุคนี้เป็นการกระจายอำนาจการศึกษาให้มาอยู่ในมือของประชาชนได้อย่างแท้จริง ให้คนตาดำๆแบบเราได้จัดการศึกษาได้ด้วยตัวเองถ้าใช้โอกาสในช่วงนี้เป็นความได้เปรียบของผู้หวังการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทย

ผู้บริหารหลายท่านที่เปิดโรงเรียนใหม่ทั้งเอกชนและการกุศล ต่างก็หากลยุทธ์เพื่อสร้างจุดแข็งให้กับโรงเรียนทั้งการพัฒนาสถานที่ การบริการ การใช้หลักสูตรพิเศษไม่ว่าสองภาษา หรือหลักสูตรจินตคณิตเข้ามาเสริม ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างจากโรงเรียนเก่าแก่หรือที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว ฉบับนี้การสร้างความแตกต่างขอโฟกัสไปที่หลักสูตรจินตคณิตนะครับ ว่ามันได้สร้างความแตกต่างในการจัดการเรียนการสอน และการสร้างการเรียนรู้ให้นักเรียนได้อย่างไร จึงขอเล่าประสบการณ์ ที่โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ จ.กระบี่ โรงเรียนเพิ่งเปิดได้สักสองปี ใช้หลักสูตรจินตคณิตมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนครับ ที่โรงเรียนก็ปรับปรุงรายละเอียดการใช้หลักสูตรอย่างต่อเนื่องครับ ผู้บริหารที่รับผิดชอบบอกว่าปล้ำกับเรื่องนี้ ลองผิดลองถูกมาช่วงนึง…ในบางโรงเรียนที่ก้าวไม่ผ่านก็หยุดใช้

ขณะนี้เริ่มคงเส้นคงวา เนื่องจากทางสถาบันจินตคณิตล้านนามาช่วยในการอบรมคณะครูทุกคนในโรงเรียน พอมีครูย้ายออกก็ไม่เป็นปัญหาเพราะทุกคนสามารถแทนกันได้ อีกประการคือการติดตามประจำทุกๆเดือน เพื่อประเมินความคืบหน้าของครูให้กับผู้บริหาร…

คนทั่วไปจะรู้สึกประหลาดใจครับ เมื่อได้ยินว่าในการแข่งขันจินตคณิตชิงแชมป์ภาคใต้นั้น มีเด็กบ้านๆ โรงเรียนชนบทๆ ไม่มีที่เรียนพิเศษแบบเด็กในเมือง จำนวนหนึ่งตั้งแต่ระดับ ป. 1 – ป. 6 สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์จำนวน 150 ข้อภายในเวลา 10 นาที ซึ่งผ่านการฝึกปกติในชั้นเรียน ไม่ต้องเรียนพิเศษ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่าปัญหาการศึกษาไทยแก้ได้ จำนวนเด็กก็สามารถเพิ่มขึ้นได้ โรงเรียนก็ไม่ต้องยุบหากโรงเรียนสามารถสร้างคุณภาพทางการศึกษาได้ โรงเรียนบ้านๆ อย่างโรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ สร้างอาคารไม่ทันแล้วครับเพราะจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ขณะนี้ผู้บริหารจึงคิดวางแผนที่จะหาสถานที่แห่งใหม่เพื่อเปิดสาขา คาดว่าอาจมีสามถึงสี่แห่งในช่วง 5 ปีข้างหน้า น่าแปลกใจนะครับในขณะที่รัฐบาลหาทางปิดโรงเรียนถาวร เหล่านักการศึกษาอิสระเช่นเราต่างก็พร้อมใจกันหาสถานที่เปิดโรงเรียนแนวคิดใหม่ ซึ่งจะค่อยๆแถลงไขถึงจุดเด่นอื่นๆของโรงเรียนเอกชนน้องใหม่ในฉบับหน้านะครับ

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s