ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษาโดยเริ่มที่ตัวของผู้บริหารในการทำความเข้าใจต่อทฤษฎีอย่างถ่องแท้ มีความพร้อมในการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการที่เปลี่ยนแปลง และการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งดำเนินชีวิตตามแนวปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทำการวางแผนงานที่จะดำเนินการในด้านต่างๆของการบริหารจัดการโรงเรียน

แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง

ในด้านบริหารจัดการสถานศึกษา ทำการจัดระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เอื้อต่อการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแนวทางคร่าวๆคือ ทบทวน ปรับปรุง พัฒนา โครงสร้างและกระบวนการบริหารจัดการให้สอดคล้องหรือรองรับการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเริ่มทำการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรม และการปรับปรุงเพิ่มเติมหรือจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติงานของสถานศึกษาให้ครอบคลุมการพัฒนาการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา มีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้  กระบวนการเรียนรู้  ปลูกฝัง เช่น จัดอาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เน้นความร่มรื่น ประโยชน์ใช้สอย เป็นแหล่งเรียนรู้ และอนุรักษ์สืบสานทรัพยากรธรรมชาติ และรณรงค์ให้จัดโครงการและกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในการจัดการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตร โรงเรียนทำการบูรณาการเนื้อหาสาระของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในหลักสูตรสถานศึกษา  โดยแต่กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมมาตรฐานการเรียนรู้ในแต่ละช่วงชั้น ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของหลักสูตรสถานศึกษา และโรงเรียนจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียน เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในวิถีชีวิตประจำวัน โดยจะต้องมี ความรู้ (Knowledge) ทักษะกระบวนการ (Process) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute)

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   โดยโรงเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในขั้นตอนสำคัญทุกขั้นตอน ตั้งแต่วางแผน ให้คำเสนอแนะ ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดสภาพและบรรยากาศภายในโรงเรียนและส่งเสริมการเรียนรู้และการปฏิบัติตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านอีกด้วย

นายปรีชา เริงสมุทร์

Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s