ไม่ควรมีใครต้องถูกทำร้าย เพราะมีเชื้อชาติแตกต่างกัน

#อิสลามห้ามเหยียดเชื้อชาติ #StopAsianHate

2 สัปดาห์ก่อน เกิดเรื่องราวที่สะเทือนใจผู้คนไปทั่วทั้งโลก และกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว กับ #StopAsianHate เนื่องมาจากเกิดเหตุฆาตรกรผิวขาว กราดยิงสปา 3 แห่งหญิงสาวชาวเอเชีย 6 คนถูกยิงเสียชีวิตในอเมริกาในรัฐแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้รวมถึง 8 คน โดย 6 คน เป็นชาวเอเชีย

อ่านเพิ่มเติม “ไม่ควรมีใครต้องถูกทำร้าย เพราะมีเชื้อชาติแตกต่างกัน”
Advertisement

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกถูกบูลลี่ ในโรงเรียน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวเศร้าเรื่องที่เด็กนักเรียนคนหนึ่งถูกเพื่อนๆ รุมทำร้ายในโรงเรียน โดยมีคลิปที่มีภาพการทำร้ายรุนแรงหลุดออกมาในโลกออนไลน์

เกิดคำถามแก่พ่อแม่ผู้ปกครองว่า

เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกเราถูกบูลลี่ในโรงเรียน

เพราะส่วนใหญ่ ไม่ได้มีคลิปหลุดแบบนั้น

ผู้ใหญ่จึงต้องทราบวิธีสังเกตอาการที่บอกว่าเด็กถูกบุลลี่หรือไม่ และควรจะทราบว่าถ้าสงสัยว่าเด็กถูกบุลลี่ ควรทำยังไงบ้าง

อ่านเพิ่มเติม “จะรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกถูกบูลลี่ ในโรงเรียน”

เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน

ชื่นชมครูจังหวัดสกลนคร

ยกลำดับที่ 1 ให้นักเรียนทั้งชั้น

ขออนุญาตแชร์ข่าวที่น่าประทับใจ ย้อนหลังไปเมื่อ 5 เม.ย. 2551 จากกรณีที่ครูโรงเรียนบ้านนาสีนวล ตำบลหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โพสต์ในโลกออนไลน์ โดยให้นักเรียนชายทั้ง 17 คนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 สอบได้ลำดับที่ 1 ทุกคน

อ่านเพิ่มเติม “เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน”

บทความวิจัย การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดกระบี่ โดย อ.ชารีฟ เริงสมุทร์

การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดกระบี่ Academic Administrational In Private Islamic School In Krabi


ชารีฟ เริงสมุทร์ Charip Roengsamut ผู้จัดการโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ จังหวัดกระบี่

บทคัดย่อ

อ่านเพิ่มเติม “บทความวิจัย การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดกระบี่ โดย อ.ชารีฟ เริงสมุทร์”

เด็กเก่งเป็นแบบไหน?? คำถามชวนคิด

เด็กเก่งเป็นแบบไหน?? คำถามชวนคิด จากงานเวิร์คช้อปบูรณาการสหวิชาการ โดย ดร. จารุวัจน์ สองเมือง

ซากี เริงสมุทร์ เล่าเรื่อง
.
ในงาน workshop เพื่อทำความเข้าใจ “การบูรณาการสหวิชาการ” โดย ผศ.ดร.จารุวัจน์ สองเมือง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา และ อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ให้แก่คณะครูโรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559

อ่านเพิ่มเติม “เด็กเก่งเป็นแบบไหน?? คำถามชวนคิด”

บทความวิชาการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดกระบี่ สู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา

ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดกระบี่ สู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา

โดย วิทยา เริงสมุทร์ 1 และบุญเลิศ ค่อนสะอาด 2

1 ผู้อำนวยการ โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

2 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

อ่านเพิ่มเติม “บทความวิชาการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดกระบี่ สู่องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษา”

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เครือข่ายการศึกษาบูรณาการอิสลามภาคใต้

บทความวิชาการ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรยีนกับการเป็น องค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เครือข่ายการศึกษาบูรณาการอิสลามภาคใต้
The Relationship between Transformational Leadership of Administrators and Educational Innovation Organization of Private Islamic Schools in Islamic Integrated Schools Network Southern Thailand


โดย ปรีชา เริงสมุทร์ และ รศ. ดร. จรัส อติวิทยาภรณ์

Education Program in Educational Administration, Hatyai University

อ่านเพิ่มเติม “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เครือข่ายการศึกษาบูรณาการอิสลามภาคใต้”

ผมว่าปัญหาของโรงเรียนแก้ได้ด้วยการบริหารที่ชุมชนมีส่วนร่วม

Primary Management Committed to Community Program II : Cheetham Community School

ท่านเคยเห็นโรงเรียนประตูห้องผู้บริหารเปิดกว้างให้ผู้ปกครองเข้าพบได้ตลอดเวลาทั้งตอนมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา หรือไม่ ? โรงเรียนที่มีนโยบายเปิดรับความคิดเห็นของใครๆที่แวะมาเยี่ยมเยือน ? โรงเรียนที่สามารถเข้าไปเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอครูว่าง ? โรงเรียนที่บรรยากาศเป็นมิตร ให้เกียรติผู้ปกครองมาก? ที่ๆไม่ถามว่าผู้ปกครองเข้ามาทำอะไรในโรงเรียน ? ท่านเคยเข้าไปนั่งเรียนกับบุตรหลานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ในวิชาต่างๆที่ คุณครูสอนลูกหลานของท่าน ? นั่งฟังลูกหลานของท่านอ่านหนังสือ ? โรงเรียนที่เปิดโอกาสให้ท่านมาแวะเยี่ยมเยือนเพราะได้จัดกิจกรรมต่างเพื่อต่อยอดความรู้ของท่าน ?

มีแล้วครับ แต่ไกลหน่อย ชื่อ โรงเรียนชุมชนชีตแฮม เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ อ่านเพิ่มเติม “ผมว่าปัญหาของโรงเรียนแก้ได้ด้วยการบริหารที่ชุมชนมีส่วนร่วม”

แนวทางการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา

ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการศึกษาโดยเริ่มที่ตัวของผู้บริหารในการทำความเข้าใจต่อทฤษฎีอย่างถ่องแท้ มีความพร้อมในการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการที่เปลี่ยนแปลง และการจัดการศึกษาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งดำเนินชีวิตตามแนวปรัญาของเศรษฐกิจพอเพียง แล้วทำการวางแผนงานที่จะดำเนินการในด้านต่างๆของการบริหารจัดการโรงเรียน อ่านเพิ่มเติม “แนวทางการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา”

โรงเรียนตาดีกาในอังกฤษ

อิสลามศึกษา : โรงเรียนมัดดารอซะฮ์ในอังกฤษ – Islamic Education : My Other School is a Madrasah มัดดารอซะฮ์เป็นโรงเรียนสอนอิสลามหลังเลิกเรียน เด็กๆจะใช้เวลาในการเรียนประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อเรียนรู้การอ่านกุรอาน หลักการศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับ โดยจะเน้นภาษาอาหรับเพื่อทำความเข้าใจอัลกุรอานโดยวิธีง่ายๆ

รายการโทรทัศน์ครูพาเราจะไปดูการเรียนการสอนในมัดดารอซะฮ์สองแห่งที่เมืองเบอร์มิงแฮม คือ มัดดารอซะฮซาวียะฮ ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางอิสลาม และมัดดารอซะฮซาลาฟียะฮ ซึ่งอยู่ในสุเหร่าที่เก่าแก่กว่า

นักเรียนมุสลิม 200,000 คนทั่วอังกฤษไปเรียนมัดดารอซะฮ์ หรือโรงเรียนตาดีกาหรือศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด แบบบ้านเรา หรือโรงเรียนสอนศาสนาหลังโรงเรียนเลิกทุกวัน ที่นั่นพวกเขาจะได้เรียนและพูดคุยถึงหลักปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม โดยเฉลี่ยแล้ว เด็ก ๆ จะใช้เวลาสองชั่วโมงที่มัดดารอซะฮ โดยมุ่งเน้นที่การเรียนและอ่านภาษาอาหรับ และศึกษาศาสนาอิสลาม ครูที่มาดราซาห์พยายามเชื่อมโยงหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการและความสนใจของเด็ก

พวกเขายังใช้วิธีการเล่านิทาน การทำงานกลุ่ม และกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อทำให้การเรียนรู้ในตอนเย็นหลังการเรียนในโรงเรียนภาคปกติเป็นเรื่องสนุกสนานมาก­ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เจ้าหน้าที่ นักเรียนและผู้ปกครองพูดถึงความสำคัญของการศึกษาที่โรงเรียนสอนศาสนา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของมัดดารอซะฮ์ในศตวรรษที่ 21

จากปอเนาะสีแดงสู่ปอเนาะต้นแบบ

ได้มีโอกาสรับชมสารคดีสั้นชุดนี้ในโทรทัศน์ครู “ปอเนาะต้นแบบในนจังหวัดชายแดนใต้” จนจบ ก็รุ้สึกคุ้นๆกับชื่อปอเนาะตาเซะ จึงลองไปสอบถามพี่ๆน้องๆ จากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม น้องๆก็บอกว่า ก็ปอเนาะที่พวกเราไปเก็บข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถูกกราดยิงของทหาร เมื่อปี 2550 ไง”

หลังจากนั้นก็ได้อ่านงานเขียนของโต๊ะกูเป็ง (อารีฟิน บินจิ) ที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่ทำให้ผู้อ่านเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์จริง เรียกได้ว่าใครอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวในช่วงระยะเวลาดังกล่าว คงต้องใช้ศัพท์ว่าถูกทางการเพ่งเล็งจนได้รับฉายาว่า “ปอเนาะสีแดง” แต่วันนี้พวกเขาไม่ได้นั่งอยู่เงียบๆ ปล่อยให้เหตุการณ์เงียบหายไปโดยสังคมไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสถาบันปอเนาะ พวกเขาทำการสื่อสารกับสังคมโดยภาพรวม สร้างความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ว่า ที่เขาระแวงกันนั่นไม่ได้มีอะไรเลย

“พวกเราจัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณธรรมให้กับเยาวชน ให้พวกเขาเป็นคนดี” อุสมาน พูลา ครูใหญ่กล่าว

แล้วเยาวชนเหล่านี้จะออกไปทำร้ายคนได้อย่างไร วันนี้ปอเนาะ ตาเซะได้รับการยกย่องให้เป็น “ปอเนาะต้นแบบ” แล้วที่ถูกกราดยิง ถล่มปอเนาะในวันนั้น ใครจะออกมารับผิดชอบ

ผมนำเรื่องราวที่โต๊ะกูเป็งถ่ายทอดไว้ในศูนย์ข่าวอิศรา มาแนบไว้กับบทความนี้ด้วยครับ  อ่านเพิ่มเติม “จากปอเนาะสีแดงสู่ปอเนาะต้นแบบ”

ดาวน์โหลดเอกสารสัมมนา “ยกเครื่องการศึกษาไทย: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง”

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2554 ครั้งสำคัญ ที่มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานปฏิรูป สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกันจัดงานนี้ขึ้นมา มีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ ตัวแทนของภาคประชาชนทั่วไป ภาคการเมือง และสื่อมวลชน กว่า 700 คน ในหัวข้อ “ยกเครื่องการศึกษาไทย: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง” (Revamping Thai Education System:  Quality for All) เมื่อวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บี ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ นับได้ว่าเป็นการประชุมที่มีผู้อ้างอิงข้อมูลในการสัมมนาครั้งนี้จำนวนมาก ทางโรงเรียนจึงขอนำมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อให้นักการศึกษาทุกท่านที่แวะมาเยือนได้ดาวน์โหลดข้อมูลจากลิ้งค์นี้ (แนบไฟล์ในช่วงกำหนดการประชุม)

 หัวข้อที่ 1: การปฏิรูปการศึกษารอบใหม่: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง (The New Round of Education Reform: Toward Inclusive Quality Education)

หัวข้อที่ 2: การสร้างความเชื่อมโยงของการศึกษากับตลาดแรงงาน (The Development of a Better Linkage between the Education System and the Labor Market)

หัวข้อที่ 3: ระบบการบริหารและการเงินเพื่อสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา (A Management and Financial Model for a Greater Accountability in Education Management)

หัวข้อที่ 4: โรงเรียนทางเลือกกับทางเลือกในการศึกษาของประชาชน (Alternative Education as a Choice of Education)

อ่านเพิ่มเติม “ดาวน์โหลดเอกสารสัมมนา “ยกเครื่องการศึกษาไทย: สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง””

ปิดตัวโทรทัศน์ครูเหลือแค่ความทรงจำกับสมาชิกสองแสนคน


โดย ปรีชา เริงสมุทร์

สมาชิกต้นแบบโทรทัศน์ครู

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 เจ้าหน้าที่โครงการโทรทัศน์ได้มีอีเมล์แจ้งสมาชิกโรงเรียนต้นแบบว่า “เนื่องด้วยทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผู้บริหารโครงการโทรทัศน์ครูได้สิ้นสุดโครงการ โทรทัศน์ครู โดยจะออกอากาศช่องโทรทัศน์ครูในช่องระบบ KU – BAND ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 และ ระบบC –BAND ถึงวันที่ 30 กันยายน2555” ซึ่งหมายถึงโทรทัศน์ครูกำลังจะปิดตัวไป เหลือแค่ความทรงจำว่า ครั้งนึงประเทศไทยเคยให้ความสำคัญกับคนที่มีอาชีพครู โดยมีช่องโทรทัศน์ครู อันเป็นสถานีที่สองของโลกหลังจากประเทศอังกฤษ ก่อนประเทศอเมริกาจะมีช่องโทรทัศน์ครูเสียอีก แต่ประเทศไทยมีได้ในระยะเวลาไม่กี่ปีเท่านั้น อ่านเพิ่มเติม “ปิดตัวโทรทัศน์ครูเหลือแค่ความทรงจำกับสมาชิกสองแสนคน”

การพัฒนาครูคือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง

โดย นายปรีชา เริงสมุทร์[1]  

ภายหลังที่ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อมุ่งหวังและยกระดับการศึกษาของชาติ และจัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยเฉพาะปฏิรูปการบริหารและการศึกษา ซึ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูป อ่านเพิ่มเติม “การพัฒนาครูคือหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง”

วิกฤติโรงเรียนรัฐ โอกาสโรงเรียนเอกชน และจินตคณิต

คอลัมน์ โรงเรียนนอกคอก

โดย อ.ซากี เริงสมุทร์

Saki391@gmail.com

ขณะนี้ถือเป็นยุคเบ่งบานของโรงเรียนเอกชน คนรุ่นผมหลายคน ทั้งที่เป็นคนทำงานเพื่อสังคม นักการศึกษา นักการศาสนา ลูกหลานบาบอ และนักธุรกิจเพื่อสังคม ต่างพร้อมใจกันเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ บ้างก็ขยายสาขา นับจากคนรอบกายรวมๆแล้วเปิดใหม่ไม่ต่ำกว่า 20  โรงเรียน ในขณะที่ โรงเรียนรัฐบาลในพื้นที่ต่างๆกลับเดินไปสู่ขั้นวิกฤติ จากการแถลงนโยบายของ รมต.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ว่าจะปิดโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศอย่างถาวรจำนวน 10,000 แห่ง โดยย้ายนักเรียนให้ไปเรียนโรงเรียนใกล้เคียงแทน

ผมมองว่าช่วงนี้แหละที่จะเป็นจุดเปลี่ยนการศึกษาของไทยที่สำคัญ อาจมากกว่าช่วงปฏิรูปการศึกษาในยุคก่อนหน้านี้อีกนะครับ นับได้ว่ายุคนี้เป็นการกระจายอำนาจการศึกษาให้มาอยู่ในมือของประชาชนได้อย่างแท้จริง ให้คนตาดำๆแบบเราได้จัดการศึกษาได้ด้วยตัวเองถ้าใช้โอกาสในช่วงนี้เป็นความได้เปรียบของผู้หวังการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทย อ่านเพิ่มเติม “วิกฤติโรงเรียนรัฐ โอกาสโรงเรียนเอกชน และจินตคณิต”