ใครคือผู้ถูกคัดเลือกสู่ ประตูสวรรค์” อั ร ร อ ย ย า น “

ใครคือผู้ถูกคัดเลือกสู่ ประตูสวรรค์
” อั ร ร อ ย ย า น “

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“แท้จริง ในสวรรค์นั้นมีประตูหนึ่งมีชื่อเรียกว่า อัรฺ-รอยยานในวันกิยามะฮฺผู้ถือศีลอดจะเข้าสวรรค์จากประตูนี้ ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา
จะมีเสียงถามขึ้นมาว่า ‘ไหนเล่าบรรดาผู้ถือศีลอด?’ (เพื่อเรียกให้พวกเขาได้เข้าสวรรค์จากประตูนี้)
.
แล้วพวกเขาก็จะยืนขึ้น
ไม่มีผู้ใดสักคนเข้าจากประตูนี้นอกจากพวกเขา
.
เมื่อพวกเขาได้เข้าไปหมดแล้ว ประตูนี้ก็จะถูกปิด
จึงไม่มีผู้ใดได้เข้าไปจากประตูนี้อีกนอกจากพวกเขา”
.
มีสำนวนเพิ่มเติมจากสายรายงานของอิบนุ มาญะฮฺว่า “ผู้ใดที่ได้เข้าจากประตูนี้ เขาจะไม่กระหายอีกเลยชั่วนิรันดร์”

อ่านเพิ่มเติม “ใครคือผู้ถูกคัดเลือกสู่ ประตูสวรรค์” อั ร ร อ ย ย า น “”
Advertisement

พิธีตัมมัตอัลกุรอาน ปีการศึกษา 2563

ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนที่ได้ผ่านพิธีตัมมัตอัลกุรอาน ปีการศึกษา 2563 ในปีนี้ได้รับเกียรติจาก อ. มุฮัมหมัดซีเกร เริงสมุทร กอรีชื่อดังของจังหวัดกระบี่ เป็นผู้นำพิธีตัมมัตอัลกุรอาน มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษากว่า 30 คน ที่อ่านจบในปีนี้รับเกียรติบัตรจาก ดร.ชารีฟ เริงสมุทร์ ผู้จัดการโรงเรียน

อ่านเพิ่มเติม “พิธีตัมมัตอัลกุรอาน ปีการศึกษา 2563”

รวบรวมบทดุอาเยี่ยมผู้ป่วย

รวบรวม
บทดุอาอฺหรือบทขอพรที่ควรกล่าวแก่ผู้ป่วย จากแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.)

อ่านเพิ่มเติม “รวบรวมบทดุอาเยี่ยมผู้ป่วย”

โรงเรียนตาดีกาในอังกฤษ

อิสลามศึกษา : โรงเรียนมัดดารอซะฮ์ในอังกฤษ – Islamic Education : My Other School is a Madrasah มัดดารอซะฮ์เป็นโรงเรียนสอนอิสลามหลังเลิกเรียน เด็กๆจะใช้เวลาในการเรียนประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อเรียนรู้การอ่านกุรอาน หลักการศาสนาอิสลาม และภาษาอาหรับ โดยจะเน้นภาษาอาหรับเพื่อทำความเข้าใจอัลกุรอานโดยวิธีง่ายๆ

รายการโทรทัศน์ครูพาเราจะไปดูการเรียนการสอนในมัดดารอซะฮ์สองแห่งที่เมืองเบอร์มิงแฮม คือ มัดดารอซะฮซาวียะฮ ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางอิสลาม และมัดดารอซะฮซาลาฟียะฮ ซึ่งอยู่ในสุเหร่าที่เก่าแก่กว่า

นักเรียนมุสลิม 200,000 คนทั่วอังกฤษไปเรียนมัดดารอซะฮ์ หรือโรงเรียนตาดีกาหรือศูนย์อบรมจริยธรรมประจำมัสยิด แบบบ้านเรา หรือโรงเรียนสอนศาสนาหลังโรงเรียนเลิกทุกวัน ที่นั่นพวกเขาจะได้เรียนและพูดคุยถึงหลักปฏิบัติต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม โดยเฉลี่ยแล้ว เด็ก ๆ จะใช้เวลาสองชั่วโมงที่มัดดารอซะฮ โดยมุ่งเน้นที่การเรียนและอ่านภาษาอาหรับ และศึกษาศาสนาอิสลาม ครูที่มาดราซาห์พยายามเชื่อมโยงหลักสูตรให้เข้ากับความต้องการและความสนใจของเด็ก

พวกเขายังใช้วิธีการเล่านิทาน การทำงานกลุ่ม และกลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อทำให้การเรียนรู้ในตอนเย็นหลังการเรียนในโรงเรียนภาคปกติเป็นเรื่องสนุกสนานมาก­ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เจ้าหน้าที่ นักเรียนและผู้ปกครองพูดถึงความสำคัญของการศึกษาที่โรงเรียนสอนศาสนา ตลอดจนการมีส่วนร่วมของมัดดารอซะฮ์ในศตวรรษที่ 21

จากปอเนาะสีแดงสู่ปอเนาะต้นแบบ

ได้มีโอกาสรับชมสารคดีสั้นชุดนี้ในโทรทัศน์ครู “ปอเนาะต้นแบบในนจังหวัดชายแดนใต้” จนจบ ก็รุ้สึกคุ้นๆกับชื่อปอเนาะตาเซะ จึงลองไปสอบถามพี่ๆน้องๆ จากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม น้องๆก็บอกว่า ก็ปอเนาะที่พวกเราไปเก็บข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถูกกราดยิงของทหาร เมื่อปี 2550 ไง”

หลังจากนั้นก็ได้อ่านงานเขียนของโต๊ะกูเป็ง (อารีฟิน บินจิ) ที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่ทำให้ผู้อ่านเหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์จริง เรียกได้ว่าใครอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าวในช่วงระยะเวลาดังกล่าว คงต้องใช้ศัพท์ว่าถูกทางการเพ่งเล็งจนได้รับฉายาว่า “ปอเนาะสีแดง” แต่วันนี้พวกเขาไม่ได้นั่งอยู่เงียบๆ ปล่อยให้เหตุการณ์เงียบหายไปโดยสังคมไทยไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบสถาบันปอเนาะ พวกเขาทำการสื่อสารกับสังคมโดยภาพรวม สร้างความเข้าใจกับคนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ว่า ที่เขาระแวงกันนั่นไม่ได้มีอะไรเลย

“พวกเราจัดการศึกษาเพื่อสร้างคุณธรรมให้กับเยาวชน ให้พวกเขาเป็นคนดี” อุสมาน พูลา ครูใหญ่กล่าว

แล้วเยาวชนเหล่านี้จะออกไปทำร้ายคนได้อย่างไร วันนี้ปอเนาะ ตาเซะได้รับการยกย่องให้เป็น “ปอเนาะต้นแบบ” แล้วที่ถูกกราดยิง ถล่มปอเนาะในวันนั้น ใครจะออกมารับผิดชอบ

ผมนำเรื่องราวที่โต๊ะกูเป็งถ่ายทอดไว้ในศูนย์ข่าวอิศรา มาแนบไว้กับบทความนี้ด้วยครับ  อ่านเพิ่มเติม “จากปอเนาะสีแดงสู่ปอเนาะต้นแบบ”

อิสลามศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาอิสลาม – Islamic Education : An Islamic Primary School

ติดตามชมการดำเนินงานของโรงเรียนประถมศึกษาอิสลาม ชากซี ในเมืองสลัฟ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีเป้าหมายเพื่อผสมผสานการศึกษาศาสนา ควบคู่ไปกับการศึกษาวิชาการเชิงก้าวหน้า และร่วมสมัย ฟาราห์ อาเม็ด ผู้อำนวยการ และอดีตครูวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ต้องการสอนให้มุสลิมรุ่นเยาว์มีความเชื่อมั่นใน “บุคลิกภาพตามแบบฉบับของชาวมุสลิมแท้จริง” ของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาความรู้และทักษะที่สร้างสรรค์ ในชั้นเรียน FS1 กลุ่มสีแดง นักเรียนกำลังเรียนเรื่องแมลงจิ๋วกับครูชาวอาหรับ เลย์ลา กุยซานี สำหรับกลุ่มสีเหลือง ครูคอซา ฮุซเซน จัดกลุ่มศึกษาเรื่องการเติบโตให้กับนักเรียนกลุ่ม FS2 ของเธอ ขณะเดียวกัน ครูทาห์รีม ซาบีร์ และทัสนีม อัล-เซียร์ ของกลุ่มสีม่วง และสีส้ม ใช้วิธีการสอนตามหัวข้อการเรียนรู้ที่พวกเขาสามารถนำเรื่องของศาสนาอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องได้เช่น การศึกษาเรื่องศาสนาอิสลามในประเทศสเปน อ่านเพิ่มเติม “อิสลามศึกษา : โรงเรียนประถมศึกษาอิสลาม – Islamic Education : An Islamic Primary School”

อิสลามศึกษายังมีปัญหารอแก้ไข

ฟาฏินา วงศ์เลขา

ที่มา : เดลินิวส์

คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าสภาพสังคมไทยในทุกวันนี้กำลังเกิดวิกฤติ และส่งผลให้คนไทยเกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี มีความขัดแย้งทางความคิดของกลุ่มคนอย่างรุนแรง อีกทั้งสื่อและกระแสทางสังคมได้มีอิทธิพลในการชักนำให้ผู้คนเชื่อและคล้อยตามโดยขาดการใช้สติคิดใคร่ครวญไตร่ตรองถึงเหตุผลและข้อเท็จจริง ซึ่งความเหลื่อมล้ำทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษาที่แตกต่าง และความก้าวไกลของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนผลักดันหนุนนำให้วิกฤติของสังคมไทยทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติม “อิสลามศึกษายังมีปัญหารอแก้ไข”