ติดตามชมการดำเนินงานของโรงเรียนประถมศึกษาอิสลาม ชากซี ในเมืองสลัฟ ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่มีเป้าหมายเพื่อผสมผสานการศึกษาศาสนา ควบคู่ไปกับการศึกษาวิชาการเชิงก้าวหน้า และร่วมสมัย ฟาราห์ อาเม็ด ผู้อำนวยการ และอดีตครูวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา ต้องการสอนให้มุสลิมรุ่นเยาว์มีความเชื่อมั่นใน “บุคลิกภาพตามแบบฉบับของชาวมุสลิมแท้จริง” ของพวกเขา ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาความรู้และทักษะที่สร้างสรรค์ ในชั้นเรียน FS1 กลุ่มสีแดง นักเรียนกำลังเรียนเรื่องแมลงจิ๋วกับครูชาวอาหรับ เลย์ลา กุยซานี สำหรับกลุ่มสีเหลือง ครูคอซา ฮุซเซน จัดกลุ่มศึกษาเรื่องการเติบโตให้กับนักเรียนกลุ่ม FS2 ของเธอ ขณะเดียวกัน ครูทาห์รีม ซาบีร์ และทัสนีม อัล-เซียร์ ของกลุ่มสีม่วง และสีส้ม ใช้วิธีการสอนตามหัวข้อการเรียนรู้ที่พวกเขาสามารถนำเรื่องของศาสนาอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องได้เช่น การศึกษาเรื่องศาสนาอิสลามในประเทศสเปน

ชื่อ-นามสกุลผู้วิเคราะห์ นางสาว สิริลักข์ จินตนะดิลกกุล
หน่วยงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ
จุดเด่น
คลิปนี้ไม่ถึงกับมีจุดเด่นที่เด่นชัดสำหรับสังคมไทย หรือแวดวงการศึกษาไทยนัก เพราะโรงเรียนอิสลามของไทยก็มีการเรียนการสอนที่เข้มข้นทั้งวิชาเฉพาะของศาสนา การจัดเวลาละหมาดหรือแม้แต่วิชาสายสามัญ แต่ที่สิ่งที่ช่วยให้การเรียนการสอนเด็กเล็กมีประสิทธิภาพคือขนาดของชั้นเรียนที่เล็ก คือจำนวนต้องไม่มากจนเรียนล้อมวงชั้นเดียวได้ ทั้งนี้ ขนาดของชั้นเรียนทำให้ครูสอนเด็กและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง และเด็กเองก็จะรับรู้ถึงความใส่ใจที่ส่งมาถึงตลอดเวลา ทำให้เด็กต้องต้องใจเรียนและไม่กล้าซนด้วย
การประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม
สหราชอาณาจักรและไทยมีโครงสร้างการศึกษาที่แตกต่างกัน และที่แตกต่างกันมาก คือการก่อตั้งโรงเรียนมุสลิมที่อังกฤษนั้น แม้ว่าจะเปิดกว้างกับการเรียนรู้ที่หลากหลายและกว้างขวาง และหลายพื้นที่มีความเป็น cosmopolitan ซึ่งมีความเป็นสังคมเมือง ที่คนหลากเชื้อชาติ หลายศาสนามาอยู่ร่วมกัน กระนั้น ชาวมุสลิมก็ยังจัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อยมากในอังกฤษอยู่ดี

ย้อนมองดูโรงเรียนอิสลามในไทยนั้น ศาสนาอิสลามมีคนนับถือมากเป็นที่สองของไทย และชุมชนชาวมุสลิมของไทยในแต่ละที่ก็มักจะมีขนาดใหญ่ ผิวสีก็ไม่หนีจากชาวไทยพุทธเท่าไดนัก และไทยพุทธอยู่ร่วมกับชาวมุสลิมกันอย่างกลมกลืนมานานจนคนไทยไม่เกิดความรู้สึกต่อต้านเป็นภาพรวมหนักหนาอย่างชาวตะวันตกในยามที่มีข่าวความรุนแรงจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง นั่นเป็นเพราะชาวมุสลิมเองก็ถูกกระทำเช่นกัน

โรงเรียนอิสลามทั้งที่อังกฤษและที่ไทย มีจุดมุ่งหมายสำคัญคล้ายๆ กัน คือการสร้างโรงเรียนเพื่อชาวมุสลิมที่มีขนบธรรมเนียมปฏิบัติต่างจากศาสนาอื่น เช่น เวลาในการทำละหมาด หรือไม่ต้องเผชิญกับข้อห้ามของมุสลิมที่ไม่ใช่ข้อห้ามของศาสนาอื่น เป็นต้น
กระนั้น เป้าหมายของการศึกษาที่เป็นสากล คือการให้วิชาการ การบ่มเพาะนักเรียนให้อยู่ร่วมกันแลำทำงานเป็นหมู่คณะ การรู้จักเอื้อเฟ้อเผื่อแผ่ในฐานะที่อยู่ร่วมกัน และการพัฒนาทักษะทั้งฝีมือแรงงาน และการเรียนรู้ให้เพิ่มขึ้นตามลำดับขั้น เป็นสิ่งสำคัญที่เป็นสากล ฉะนั้น เมื่อเห็นการเรียนการสอนของโรงมุสลิมเหล่านี้แล้ว ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับครูไทยให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมและรูปแบบของโรงเรียนแบบอิสลาม และเมื่อมีลูกศิษย์มุสลิมในชั้น ครูจะได้เข้าใจและหาวิธีประยุกต์ให้เข้าถึงนักเรียนต่างศาสนากันได้

เงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
ความสำเร็จของการ “มีโรงเรียนอิสลาม” ในอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดโศกนาฏกรรม 11 กันยายนที่นิวยอร์ค และที่เหตุการณ์ระเบิดรถใต้ดินที่กรุงลอนดอนเมื่อสองปีที่แล้ว โดยฝีมือของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงนั้น ทำให้ชาวมุสลิมเป็นที่เพ็งเล็งของชาวอังกฤษและรัฐบาลเป็นอันมากจากเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญเหล่านี้ ทำให้ชาวอังกฤษดั้งเดิมและนักการเมืองเกิดการตั้งคำถามถึงวิถีของอิสลาม และเกิดการเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลชุมชนและโรงเรียนอิสลามเหล่านี้ เพราะปีหนึ่งๆ รัฐบาลอังกฤษอนุมัติงบประมาณให้กับโรงเรียนมุสลิมอยู่ไม่น่้อย มีหลายฝ่ายต้องการให้ลดงบประมาณและลดจำนวนโรงเรียนลง โดยคิดว่าจะช่วยลดปัญหาการซ่องสุมกำลังมุสลิมลงได้

แม้ว่าชาวมุสลิมในอังกฤษจะมีอัตราส่วนน้อย แต่ก็มีชุมชนชาวมุสลิมที่อยู่เกาะกลุ่มกัน และเสียภาษีให้กับรัฐเช่นกัน ชาวมุสลิมเหล่านี้มีทั้งมุสลิมจากตะวันออกกลาง จากอาฟริกาและจากชาวอังกฤษผิวขาวที่หันมาเข้ารีตนั้น บ้างก็ประสบปัญหาการถูกเหยียดศาสนา บ้างก็ไม่สามารถปลีกตัวมาทำละหมาดเยี่ยงมุสลิมที่เคร่งครัดได้ ดังนั้น การสร้างโรงเรียนอิสลามเพื่อชาวอิสลามที่ต้องปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาจึงเกิดขึ้น อย่างน้อย เด็กนักเรียนก็มั่นใจว่าตัวเองมีเพื่อนที่เหมือนๆ กัน

และจากโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นด้วยน้ำมือของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงนั้น ทำให้โรงเรียนอิสลามยิ่งต้องมีการประกาศวาระที่ชัดเจนถึงการมีโรงเรียนอิสลามเพื่อบ่มเพาะนักเรียนไม่ให้เกิดความรุนแรงในจิตใจ การทำตัวเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดที่สามารถอยู่ร่วมกับชาวบ้านต่างศาสนาได้เป็นอย่างดี จัดว่าเป็นความสำเร็จที่ทางโรงเรียนตัวอย่าง อย่างโรงเรียน The Islamic Shakhsiyah Foundation แสดงให้เห็น

ข้อพึงระวังในการนำไปใช้
ปัจจัยของระบบการศึกษาต่อของไทย โดยเฉพาะสายสามัญที่มีการแข่งขันกันสูงและจุดมุ่งหมายอยู่ที่การปูพื้นวิชาการที่แน่นนั้น อาจเป็นอุปสรรคสำคัญของนักเรียนชาวมุสลิม ที่เข้าเรียนโรงเรียนอิสลามที่ตั้งเป้าจะต่อในระดับอุดมศึกษาได้ ทั้งนี้ อุปสรรคที่ว่าอาจจะเป็นในเรื่องของการขยายเวลาเรียนที่มากขึ้น เพราะต้องบรรจุทั้งวิชาอารบิค การทำละหมาด หรือวิชาเฉพาะทางศาสนา โดยผนวกกับวิชาการเข้มข้นสายสามัญอื่นๆ เพื่อให้นักเรียนทำคะแนนได้สูงเป็นต้น
Advertisement

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s