คืบหน้าไปเกือบ 80% แล้ว อาคารศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสัก เพื่อเป็นอาคารเรียน ให้แก่นักเรียน และห้องประกอบ เช่น ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดมาตรฐาน ห้องปฎิบัติการณ์สื่อมวลชน เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม “อาคารศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสักพร้อมใช้งาน ปีการศึกษา 2561 นี้”
คืบหน้าไปเกือบ 80% แล้ว อาคารศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสัก เพื่อเป็นอาคารเรียน ให้แก่นักเรียน และห้องประกอบ เช่น ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดมาตรฐาน ห้องปฎิบัติการณ์สื่อมวลชน เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม “อาคารศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสักพร้อมใช้งาน ปีการศึกษา 2561 นี้”
ปอเนาะแหลมสัก จัดพิธีมอบใบประกาศให้นักเรียนจบ อ.3 ป.6 ม.3 และม.6 กว่า 100 คน
โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ หรือปอเนาะแหลมสักจังหวัดกระบี่ ได้จัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรให้กับนักเรียนที่จบ ชั้นอนุบาล 3 (บัณฑิตน้อย) ประถมศึกษาปีที่6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนกว่า 100 คน โดยมี สอ.วิทยา เริงสมุทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นประธานในพิธี
อ่านเพิ่มเติม “โรงเรียนประทีปธรรมจัดงานสำเร็จการศึกษา แสดงความยินดีกับนักเรียนจบช่วงชั้น”
ส.อ.วิทยา เริงสมุทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาสมาชิกโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในวันที่ 10 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการต่อยอดจากทุนเดิมที่ได้ดำเนินงานมาแล้ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คุณภาพการศึกษา
. อ่านเพิ่มเติม “ผอ.ประทีปธรรมร่วมลงนาม MOU การพัฒนาสมาชิกโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เครือข่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์”
วันงานประจำปีโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ฝ่ายคณะกรรมการโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิได้หารือกับชมรมศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสัก เรื่องการระดมทุนสร้างอาคารเรียน และหลังจากงานฯ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบได้เดินหน้าการก่อสร้างอาคารเรียนอย่างเต็มสูบ
นับถึงวันนี้ เป็นระยะเวลา 2 เดือน 2 วัน มีความคืบหน้าไปอย่างมากครับ
มาดูความคืบหน้ากันครับ
คณะครูโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ ปี 2560
พวกเค้าคือคนหนุ่มสาวที่มีความฝันเพื่ออุมมะห์อิสลาม
พร้อมต้อนรับนักเรียนใหม่และผู้ปกครองทุกท่าน
โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ (Prateeptham Foundation School-معهد مصباح الدين )เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศลสอนอิสลามศึกษาควบคู่สามัญ
เริ่มต้นจากโต๊ะครู ฮัจยี อับดุลมาลิก เริงสมุทร์ ได้เปิดปอเนาะเพื่อบ่มเพาะความรู้ศาสนาอิสลามและการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของอิสลาม มาเป็นเวลากว่า 30 ปี ลูกศิษย์ลูกหาในแถบอันดามัน ตั้งแต่ระนองจนถึงกระบี่กว่าพันคน จัดการเรียนการสอนศาสนาโดยยึดแนวทางชาฟีอีย์แก่ศิษย์ ผ่านกีตาบมลายูและอาหรับสำคัญหลายเล่ม
“แล้วทำไมเราจะจัดบูรณาการอิสลามไม่ได้ ตอนผมเรียนอยู่ที่มักกะฮ
ผมเข้าเรียนในมัสยิดฮารอม กลางวันจะไปเรียนในโรงเรียนชื่อ ‘ดารุลอุลูม’เรียนศาสนาผสมสามัญด้วย เกี่ยวกับเรื่องยุกรอเฟีย(ภูมิศาสตร์)
ตาริก(ประวัติศาสตร์) อุลูมวัลซีห๊ะ(วิชาเกี่ยวข้องกับสุขศึกษาอนามัย) อัลหิซาบ(คณิตศาสตร์) และฮันดาซะฮ์(เรขาคณิต)เรียน 7 โมงเช้าถึงบ่ายโมงก็หยุดหลังจากนั้นก็กลับมาบ้านพัก
เพื่อเย็บหมวกต่อ พอหัวค่ำ 6 โมงเย็นก็กลับไปละหมาดมักริบ
ทุ่มหนึ่งก็เรียนกีตาบ เกี่ยวกับกฏหมายอิสลาม จนถึง 2 ทุ่มครึ่งก็ละหมาดอีซากันต่อ แล้วจึงเรียนกีตาบกันต่ออีกเล่ม
พอเสร็จก็กลับบ้านไปกินข้าว เย็บหมวกต่อจนถึงเที่ยงคืน จึงนอน
ตีห้าครึ่งก็ตื่นไปละหมาดซุบฮฺ แล้วเรียนกีตาบ 2 เล่มก่อน กลับมาอาบน้ำกินข้าวและแต่งตัวไปโรงเรียน เรียกว่าชีวิตวนเวียนอยู่อย่างนี้ทุกวี่วัน อยู่แต่กับมัสยิดฮารอม บ้านพัก เรียน แล้วก็เย็บหมวก” บาบาอัลดุลมาลิก เริงสมุทร์เล่าให้ฟัง
สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความรับผิดชอบต่อการสอนศาสนาเพียงลำพัง ทำให้ปอเนาะจึงต้องปิดตัวลงกว่าสิบปี แต่ยังคงการจัดการเรียนการสอนของศูนย์อบรมจริยธรรมอิสลามประจำมัสยิด และการสอนกีตาบแก่ผู้สนใจโดยไม่เรียกร้องสิ่งใดจากศิษย์ และได้สร้างกิจกรรมเพื่อรักษาคุณค่าด้านจริยธรรมเอาไว้ให้เป็นมรดกแก่เยาวชน เช่นการจัดค่ายอบรมจริยธรรมภาคฤดูร้อน เป็นประจำติดต่อกันจนปัจจุบัน เป็นปีที่ 10
ในการประชุมคณะศิษย์เก่า ชาวบ้าน และลูกหลาน เมื่อปี 2551 ที่ประชุมได้มีมติให้ ทำโรงเรียนที่สอนแบบบูรณาการ เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเติบโตเป็น หมอที่มีอุดมการณ์อิสลาม ทนายความที่ทำประโยชน์แก่ประชาชนเพื่ออัลลอฮ ผู้นำทางการเมืองที่มีอุดมการณ์อิสลามและทำเพื่อประชาชน
โดยเชื่อมั่นว่าเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้แก่ชุมชนมุสลิมแก่ชุมชน
โต๊ะครู ฮัจยี อับดุลมาลิก ได้กล่าวไว้ในที่ประชุมใหญ่ของศิษย์เก่าและชาวบ้านว่า
“โรงเรียนแห่งนี้เป็นของทุกๆคน ขอให้ทุกคนมาช่วยกันดูแล และรักษา โรงเรียนแห่งนี้เป็นของสาธารณะที่มีมูลนิธิประทีปธรรมเพื่อการศึกษาเป็นคนดูแลให้ โดยตั้งใจอุทิศเพื่อเป็นสาธารณกุศล”
ผู้รับใบอนุญาต สอ.วิทยา เริงสมุทร์
ผู้อำนวยการ อ.อดิศักดิ์ บุตรเหล่
ผู้จัดการ อ.ปรีชา เริงสมุทร์
ต.ค. 2011 – 2013
ผู้รับใบอนุญาต สอ.วิทยา เริงสมุทร์
ผู้อำนวยการ อ.อดิศักดิ์ บุตรเหล่
ผู้จัดการ นพ.มูนีร์ส มูฮัมหมัด ใบกาเด็ม
พ.ค. 2013- ปัจจุบัน
ผู้รับใบอนุญาต สอ.วิทยา เริงสมุทร์
ผู้อำนวยการ สอ.วิทยา เริงสมุทร์
ผู้จัดการ นายปรีชา เริงสมุทร์
โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย
โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปีพ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด ซึ่งโครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย industrial shots.
วัตถุประสงค์
• ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัย ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
• ให้เด็กได้ฝึกการสังเกต รู้จักคิด ตั้งคำถามและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
• วางรากฐานระยะยาวในการสร้างนักวิทยาศาสตร์วิศวกรและทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ
• สร้างผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ที่ช่วยผลักดันให้โรงเรียนตื่นตัวและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตลอดเวลา
• พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
ปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนนำร่อง จำนวนประมาณ 200 แห่ง จาก
ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) 8 เครือข่าย ดำเนินการตามแนวทาง “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศเยอรมนี”
ปีที่ 2 โครงการฯ เริ่มขยายผลไปยังพื้นที่อื่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อถ่ายทอดกระบวนการดำเนินโครงการให้แก่โรงเรียนที่สนใจ
ด้านคุณภาพ
1. เด็กในระดับอนุบาลรู้จักวิทยาศาสตร์ผ่านการทดลองอย่างง่ายและมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์
2. เด็กในระดับอนุบาลได้รับการถ่ายทอดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
3. เด็กในระดับอนุบาลได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่างๆ ดังนี้
– ทักษะด้านการเรียนรู้ : สามารถเรียนรู้วิธีคิด วิธีตั้งคำถามและการค้นหาคำตอบได้
– ทักษะด้านการสื่อสารทางภาษา : สามารถสื่อสารความคิดต่างๆ ออกมาเป็นถ้อยคำที่ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้
– ทักษะด้านสังคม : สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีและสามารถสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ได้
– ทักษะด้านร่างกาย : ได้ฝึกฝนการใช้กล้ามเนื้อขณะทำการทดลองต่างๆ
ในปีนี้เราจะ
ปีนี้ 2560 เราโรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ ได้มีนักเรียนจบชั้นสูงสุดคือ มัธยมศึกษาปีที่6 ทางโรงเรียนขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคนที่จะจบการศึกษาในปีนี้
สารคดีประทีปธรรม 2560 โดยทีม ThamTV
รวบรวมการบรรยายในวันศิษย์เก่าปอเนาะแหลมสัก 2559
โปรดติดตามรับชม รวบรวมการบรรยายและการสรรหาและแต่งตั้งประธานชมรมศิษย์เก่า ปอเนาะแหลมสัก ปี 2559-2561
โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ จ.กระบี่ รับสมัครครู 3 อัตรา
1- ครูฟิสิกส์ 1 ตำแหน่ง
2- ครูอังกฤษ 1 ตำแหน่ง
3- ครูปฐมวัย 1 ตำแหน่ง
ติดต่อกลับตามเบอร์ที่แจ้งเลยครับ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙
.
เรื่อง แจ้งสิทธิพิเศษสำหรับการเข้าเรียนในโครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศระดับอนุบาล
เรียน ผู้ปกครองที่มีลูกอายุระหว่าง 3-5 ปี
.
ตามที่ โรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ ได้ประกาศรับสมัครนักเรียนใหม่ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ตั้งแต่ วันนี้ – วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ตามรายละเอียดที่แนบมาแล้ว นั้น
.
ในปีการศึกษา ๒๕๕๙ นี้ ทางโรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ ได้จัด “โครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอนุบาลสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙” ที่จะให้สิทธิพิเศษกับนักเรียนที่เข้าหลักเกณฑ์ในจำนวนจำกัด ดังต่อไปนี้
.
๑.สิทธิ์ในการเข้าเรียนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในปีการศึกษา ๒๕๕๙ ราคา ๖๐๐ บาท
๒.สิทธิ์ในการรับอุดหนุนค่าเครื่องแบบฟรี 1 ชุด ราคา ๔๐๐ บาท
๓.สิทธิ์ในการรับอุปกรณ์การเรียนฟรี ราคา ๒๐๐ บาท
๔.สิทธิ์ในการรับแบบเรียนฟรี ราคา ๒๐๐ บาท
๕.สิทธิ์ในการรับประทานอาหารกลางวันและนมฟรี ราคา ๔,๐๐๐ บาท
๖.สิทธิ์ในการเรียนหลักสูตรจินตคณิต ฟรี ราคา ๖๐๐ บาท
รวมทั้งสิ้น ๖,๐๐๐ บาท
.
คุณสมบัตินักเรียนที่เข้าโครงการ
๑.เป็นนักเรียนอายุระหว่าง ๓-๕ ขวบ เกิดระหว่าง ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ถึง ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖
๒. มีสัญชาติไทย
๓.ไม่มีโรคติดต่อที่ร้ายแรง
๔.เฉพาะผู้ที่ยืนยันสิทธิ์ ๕๐ คนแรกและภายในเวลาที่กำหนด (๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ) เท่านั้น
เอกสารหลักฐานในการยืนยันสิทธิ์
๑. สำเนาสูติบัตร
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน
๓. รูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 6 รูป
๔. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บิดามารดา
๕. หนังสือยืนยันสิทธิ์ (ด้านหลัง)
๖. หลักฐานการศึกษา (ปพ.1) และหลักฐานอื่นๆจากโรงเรียนเดิมมอบให้
๗. สำเนาสมุดประจำตัวเด็ก(สมุดสีชมพู) หน้าประวัติการฉีดวัคซีน
.
จึงขอให้ท่านมายืนยันสิทธิ์ได้ ตั้งแต่ วันนี้ – วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ โดยรับจำนวนจำกัด จำนวน ๕๐ คนเท่านั้น จะยึดตามลำดับผู้ที่มายืนยันสิทธิ์ก่อน และหากมายืนยันสิทธิ์พร้อมสมัครในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ จะมีของสมนาคุณมอบให้ (จำนวนจำกัด)
.
ขอแสดงความนับถือ
.
สิบเอกวิทยา เริงสมุทร์
ผู้อำนวยการโรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ
โทร ๐๙๓๗๘๗๘๗๗๑
บาบาอับดุลมาลิก เริงสมุทร์ หรือโต๊ะครูมาเล๊ะ ปอเนาะแหลมสัก ตั้งอยู่ที่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ปัจจุบันอายุ 78 ปี เป็นครูที่เข้าถึงหัวใจของลูกศิษย์ กว่า 50 ปีทีรับใช้งานศาสนา มีเกร็ดชีวิต และเรื่องราวต่างๆมากมายในหนังสือเล่มนี้
รายได้ของการจำหน่ายจะนำไปก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนประทีปธรรม มูลนิธิ และเป็นทุนการศึกษาให้เด็กกำพร้า ยากจน ขัดสน ที่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
ราคา 199 บ
ติดต่อที่โรงเรียนประทีปธรรมมูลนิธิ นะครับ
เชิญชวนนักเรียนที่สนใจอยากเดินทางไปพัฒนาภาษาอังกฤษ เตรียมพร้อมตัวเองก่อนการเปิดประเทศต้อนรับอาเซียน ค่าใช้จ่ายไม่แพง แคมป์ 1 เดือน ที่โรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.sangkhomislam.ac.th/
Summer Tahfiz ที่โรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา รายละเอียดตามนี้เลยนะครับ http://www.sangkhomislam.ac.th/
รายงานโดย นายปรีชา เริงสมุทร์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาวะผู้นำ บัณฑิตวิทยาลัย บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
คำนำ
ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา จะต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหาร จัดการ มีวิสัยทัศน์ในการบริหารการศึกษาให้ทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลง มีภาวะผู้นำ มีมนุษย์สัมพันธ์เป็นที่ยอมรับ ของผู้เกี่ยวข้อง และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความสามารถ บุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพในยุคปฏิรูปการศึกษา ควรมีลักษณะที่สำคัญ คือ นักพัฒนา นักแก้ปัญหา นักตัดสินใจ นักประนีประนอม นักการฑูต นักวางแผน นักปกครอง และนักปราชญ์ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรที่สำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพราะผู้บริหารสถานศึกษาคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะต้องเป็นตัวอย่างของการปฏิรูปปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้และการบริหารให้กับครู นักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชน อ่านเพิ่มเติม “ภาวะผู้นำและทฤษฎีภาวะผู้นำ”